ปั๊มน้ำคืออะไร
ปั๊มน้ำคือเครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่ เพื่อผลัก น้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับ ปริมาณน้ำที่เพิ่ม มากขึ้น ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก
ถ้าแบ่งประเภทของกลุ่มใช้งานแบบคร่าวๆ เราจะสามารถแบ่งปั๊มน้ำออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ
1.ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรม
2.ใช้ในกลุ่มที่อยู่อาศัย และถ้าแบ่งปั๊มน้ำย่อยลงมาอีก จะสามารถแบ่งปั๊มน้ำได้อีกหลายประเภท ปั๊มสำหรับที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ จะรวมไปถึงอาคารขนาดเล็ก 5-7 ชั้น รวมไปถึงอาคารสูง10 ชั้นไป
ปั๊มน้ำในกลุ่มของอุตสาหกรรม แบ่งออกเป็น
1.ปั๊มน้ำสำหรับระบบทำความเย็น ปั๊มที่ใช้ในการส่งน้ำ Water cooling
2.ปั๊มน้ำสำหรับอุตสาหกรรมเคมี ใช้สำหรับสูบน้ำที่มีปริมาณของเคมีปนอยู่ด้วย
3.ปั๊มน้ำสำหรับเครื่องกรองน้ำ ใช้ในการผลักแรงดันน้ำเข้าไปที่ตัว filter หรือตัวกรองเพื่อทำให้น้ำสะอาดขึ้น เรียกว่า ระบบ RO (Reverse Osmosis)
4.ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตอาหาร จะใช้ปั๊มที่วัสดุเกรดค่อนข้างสูง อาจจะเป็นสแตนเลสหรือทองเหลือง
5.ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตน้ำแข็ง
6.ปั๊มน้ำสำหรับโรงงานผลิตน้ำตาล จะเป็นปั๊มที่ใช้ในการสูบน้ำเชื่อม จะเป็นปั๊มเฉพาะทาง
7.ปั๊มน้ำสำหรับงานชลประทาน ส่งน้ำปริมาณมากๆ
ปั๊มน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น
1.ปั๊มสูบน้ำเก็บบนอาคาร (Transfer)
2.ปั๊มเสริมแรงดัน (Booster Pump)
3.ปั๊มดับเพลิง (Fire Pump) สำหรับอาคาร
4.ปั๊มจุ่ม
ลักษณะของปั๊มน้ำสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.Sewage pump หรือปั๊มน้ำเสีย ปั๊มกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นปั๊มจุ่มหรือปั๊มที่อยู่ใต้น้ำเรียกว่า submersible pump เป็นปั๊มที่จุ่มใต้น้ำประมาณ 3-5 เมตร ไปจนถึง 10 เมตร ลักษณะบ่อจะใหญ่ เช่น 10 เมตร x 10 เมตร หรือใหญ่กว่านี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
2.Deep well pump ปั๊มน้ำลึกหรือปั๊มบาดาล ปั๊มจะอยู่ใต้น้ำเช่นกัน แต่เป็นปั๊มที่อยู่ลึกลงไปค่อนข้างมาก ประมาณสัก 50 เมตร ไปจนถึง 200 เมตร เจอจุดน้ำตรงไหน ก็ขุดลงไป ลักษณะของบ่อจะเล็กตามขนาดของปั๊ม ขั้นอยู่กับปริมาณน้ำและแรงดันที่ใช้หรือแล้วแต่การออกแบบ บ่ออาจจะมีขนาด 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว จะเป็นรูลงไปใต้ดิน
3.ปั๊มน้ำที่ใช้กับเครื่องกรองน้ำ RO (Reverse Osmosis) จะเป็นวัสดุที่มีคุณภาพสูงคือเป็นสแตนเลส อาจจะเป็น 304 หรือ 316 แล้วแต่การออกแบบ ปั๊มกลุ่มนี้จะมีชื่อว่า Multistage pump หรือปั๊มหลายใบพัด หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปั๊มปิ่นโต ซึ่งปั๊ม Multistage นี้จะสามารถแบ่งได้เป็น vertical pump หรือปั๊มแนวตั้ง กับ horizontal pump หรือปั๊มแนวนอน ปั๊มกลุ่ม Multistage หรือปั๊มหลายใบพัดนี้ ใช้กับกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการน้ำสะอาด เช่น โรงพยาบาล โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตยา ปั๊มน้ำ Multistage นี้ไม่สามารถใช้กับน้ำเสีย หรือน้ำที่มีตะกอนได้ เพราะปั๊มหลายใบพัดนี้เป็นปั๊มที่มีแรงดันสูง และใบพัดที่ได้รับการออกแบบมาตำแหน่งอยู่ค่อนข้างติดกัน ถ้ามีการไปใช้กับน้ำที่มีตะกอน มีสิ่งสกปรก เศษอาจจะเข้าไปติดที่ระยะ clearance หรือช่องว่างระหว่างใบพัดได้ ทำให้มอเตอร์ไหม้เสียหายได้ ปั๊มหลายใบพัดหรือ Mutistage pump จึงเหมาะสมสำหรับน้ำสะอาดเท่านั้น หรือ ระบบ บอยเลอร์ สระว่ายน้ำ
4.Centrifugal Pump หรือปั๊มหอยโข่ง สามารถแบ่งเป็น vertical pump ปั๊มแนวตั้ง กับ horizontal pump ปั๊มแนวนอนได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ในบ้านเราจะใช้ปั๊มหอยโข่งแนวนอนค่อนข้างมาก ปั๊มประเภทนี้ใช้ได้หลากหลายมาก สามารถใช้สำหรับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ หรือสามารถนำมาใช้ในกลุ่มทีอยู่อาศัยก็ได้ ลักษณะการเลือกใช้งานบ้านกับอาคารจะเป็นขนาดเล็ก แต่ปั๊มที่ใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นขนาดใหญ่ ปั๊มน้ำ ประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมจะเป็นปั๊มที่ใช้สำหรับระบบทำความเย็น Chiller เป็นระบบทำความเย็นที่ใช้กับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีระบบปรับอากาศ หรือ โรงไฟฟ้า Cooling ในกลุ่มนี้จะมีการใช้ปั๊มหอยโข่งเป็นตัวส่งน้ำ
5.Double suction Pump หรือที่นิยมเรียกกันว่า Split case pump เป็นปั๊มที่มีการติดตั้งมอเตอร์ได้สองทิศทาง ซึ่งเหมาะสำหรับใช้กับงานชลประทาน งานที่ต้องการส่งน้ำปริมาณมากๆ แรงดันไม่สูง การซ่อม การบำรุงรักษาค่อนข้างทำได้ง่ายกว่าปั๊มทั่วๆไป
6.Diaphragm Pump เป็นปั๊มที่ไว้ใช้ส่งน้ำที่มีเศษมีตะกอนได้ ใช้กับโรงงานผลิตยา หรือโรงงานผลิตอาหาร
7.Complete set Pump ปั๊มต่อยอย หมายถึง การนำปั๊มน้ำมาส่งกำลังโดยเครื่องยนต์ อาจจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องยนต์เบนซิน หรืออาจจะเป็นมอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าก็ได้ สามารถนำมาส่งกำลังกับปั๊มน้ำได้ มีอยู่ 3 ประเภท ที่นิยมใช้ คือ Double Suction pump, Centrifugal pump, vertical pump5 kw.ขึ้นไป (ปั๊มแนวตั้ง) ก็สามารถทำได้ ซึ่งนอกจากนี้ ปั๊มดับเพลิง ที่มีผลิตสำเร็จมาจากโรงงานก็มีพบเช่นกัน ซึ่งต้องผ่านมาตรฐาน FM (Factory Mutual Global) และ UL (Underwriters’ Laboratories Inc. องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรและรับรองความปลอดภัยของสินค้า) ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับ แต่บางโรงงานผู้ผลิต ไม่สามารถที่จะผ่านมาตรฐานหรือการยอมรับดังกล่าวได้ ถ้าไม่ผ่านบ้านเราก็จะไม่ยอมรับ จึงมีอีกวิธีคือ โรงงานผู้ผลิตหรือผู้ออกแบบสามารถที่จะเอาปั๊มของแต่ละโรงงานประกอบเองได้ แต่โรงงงานประกอบนั้นๆ ต้องผ่านมาตรฐาน FM และ UL
8.Vacuum pump บ้านเราค่อนข้างใช้น้อย เป็นปั๊มที่ใช้เฉพาะทาง ส่วนใหญ่จะใช้กับเคมี มีตะกอนหรือของเหลวมีความเป็นเป็นกรดสูง