เป่าลมร้อน

--> เครื่องเป่าลมร้อน <-- หรือบางคนอาจเรียกปืนเป่าลมร้อน คือ เครื่องที่ให้ลมร้อนออกมา มีลักษณะเหมือนเครื่องเป่าผม แต่ลมจะร้อนกว่ามาก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้เข้ามาแทนที่เครื่องมือล้าสมัยอย่างพาราฟิน หัวพ่นไฟ และบัดกรีระบบแก๊สที่ใช้ในการลอกสี พาราฟินและบัดกรีระบบแก๊สยังคงถูกใช้งานในสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่มีข้อควรระวัง เนื่องจากการใช้แก๊สจะควบคุมไฟยาก ทำให้งานไหม้ได้ง่าย หรือทำให้ผิวงานเสียหาย หากใช้กับงานประเภทกระจกก็อาจจะทำให้กระจกร้าวหรือแตกได้ เนื่องจากความร้อนสูงเกินไป

ลมจาก เครื่องเป่าลมร้อน มีอันตรายน้อยกว่าการใช้ไฟตรงๆ ไปที่งาน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังสามารถทำให้วัตถุไวไฟต่างๆ ติดไฟได้ จึงควรระวังเรื่องพื้นที่ทำงานเป็นอย่างยิ่ง และยังสามารถทำให้กระจกแตก หรือทำให้ผิวหนังไหม้ได้หากจ่อหัว เครื่องเป่าลมร้อน ลงบนผิวหนังโดยตรง

เครื่องเป่าลมร้อน มีทั้งแบบมีสายและไร้สาย เครื่องเป่าลมร้อน ไร้สาย จะใช้แบตเตอรี่ น้ำหนักเป่า ไม่เทอะทะเกะกะ โดยมากเครื่องจะเล็กกว่าแบบมีสาย สะดวกในการใช้งานนอกสถานที่ หรือพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งไฟฟ้า

เครื่องเป่าลมร้อน ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

เครื่องเป่าลมร้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้หลากหลายมาก แม้จะทำมาเพื่องานลอกกาวลอกสี แต่ก็ใช้กับงานอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นได้ เช่น งานเคลือบสีเคลือบเงา งานเป่าแห้ง หรือกำจัดความชื้น ไล่ลม ไล่อากาศ งานดัดท่อพลาสติกหรือพีวีซี งานหุ้มหรือเชื่อมสายไฟ งานหุ้มพลาสติก เช่น ซีลสินค้าหรือฝาขวดเครื่องดื่ม เป็นต้น โดย เครื่องเป่าลมร้อน มีหลายขนาดมาก ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

คุณสมบัติของ เครื่องเป่าลมร้อน

เนื่องจาก เครื่องเป่าลมร้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน จึงแทบจะไม่มีความแตกต่างระหว่างแต่ละรุ่นหรือแต่ละยี่ห้อ หลักการทำงานคล้ายกัน ให้ดูที่คุณภาพและมาตรฐานการผลิต เครื่องเป่าลมร้อน มีคุณสมบัติหลายประการที่สำคัญ ดังนี้

- กำลังวัตต์ โดยทั่วไปกำลังไฟของ เครื่องเป่าลมร้อน จะอยู่ที่ 1000W ถึง 2000W ยิ่งกำลังวัตต์สูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้ใช้กับงานได้ครอบคลุม ร้อนเร็ว ทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน แต่ถ้าเป็นแบบไร้สายหน่วยจะเป็นโวลต์

- สวิตช์ เครื่องเป่าลมร้อน จะมีปุ่มควบคุมหลักที่ใช้ระบบ 'dead man control' ซึ่งต้องกดปุ่มค้างไว้เครื่องจึงจะทำงาน หากทำหล่นโดยไม่ตั้งใจระหว่างที่ใช้งานอยู่ เครื่องก็จะไม่ทำงาน ทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานอย่างยิ่ง

- หัวเปลี่ยน เครื่องเป่าลมร้อน มีหัวต่อพิเศษหลากหลายชนิด เหมาะสำหรับใช้งานประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากการลอกสี

 อุณหภูมิ การตั้งค่าอุณหภูมิในการลอกสีมักจะใช้ความร้อนอย่างน้อย 500 °C ระดับความร้อนที่ต่ำกว่านี้ก็ยังใช้ประโยชน์ในงานอื่นๆ ได้ ยิ่งรุ่นที่สามารถควบคุมความร้อนได้หลายระดับก็จะยิ่งใช้งานได้หลากหลายแบบ หลากหลายงาน

- ลมร้อน การตั้งค่าลมของ เครื่องเป่าลมร้อน นั้นก็เหมือนกับอุณหภูมิ คือ ยิ่งมีความเร็วลมให้เลือกหลายระดับก็จะยิ่งใช้งานได้แบบอเนกประสงค์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท ความเร็วลมมีผลต่อการให้อุณหภูมิด้วย

- ระบบตัดความร้อน เครื่องเป่าลมร้อน ให้ลมที่มีอุณหภูมิสูงมาก ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน ชิ้นงาน และสถานที่ใช้งาน หรือกระทั่งตัวเครื่องเอง ดังนั้น จึงต้องมีระบบตัดความร้อนซึ่งจะปิดเครื่องมือทันทีหากความร้อนสูงเกินไป ต้องระวังเหตุการณ์ที่ระบบตัดเองเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดขึ้นแสดงว่ามีข้อผิดพลาดที่เครื่องมือหรือวิธีการใช้งาน ต้องรีบตรวจสอบโดยด่วน

- สายไฟ ความยาวสายไฟปกติจะอยู่ที่ 2.5 - 3 เมตร ทำให้สามารถลากเครื่องมือไปใช้งานไกลจากเต้าเสียบปลั๊กได้ แต่หากไม่ได้ต้องการใช้ในงานที่ต้องการลมร้อนสูงๆ ก็สามารถใช้ เครื่องเป่าลมร้อน ไร้สาย ได้ ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ไม่จำกัดพื้นที่ ลดปัญหาในการทำงาน

- Hand-free เนื่องจาก เครื่องเป่าลมร้อน มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา จึงสามารถถือ เครื่องเป่าลมร้อน ได้ด้วยมือเดียว มืออีกข้างสามารถใช้ถืออุปกรณ์อื่นๆ ได้ แต่ก็ควรจับ เครื่องเป่าลมร้อน ให้กระชับ อยู่มือ

- ตั้งโต๊ะได้ เครื่องเป่าลมร้อน บางรุ่นสามารถตั้งบนโต๊ะได้ ทำให้มือสองข้างว่าง สามารถจับอุปกรณ์หรือชิ้นงานต่างๆ ได้อย่างอิสระ

เครื่องเป่าลมร้อน ใช้งานอย่างไร?

โดยปกติ เครื่องเป่าลมร้อน หนึ่งตัวจะมีอุณหภูมิที่ตายตัว ความเร็วพัดลมคงที่ ออกแบบมาสำหรับใช้ในงานลอกสีเป็นหลัก แต่ก็มีรุ่นที่สามารถปรับระดับความร้อนและความเร็วพัดลมได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะปรับได้ประมาณ 2-3 ระดับ สำหรับรุ่นปกติ โดยทั่วไปสามารถลดความร้อนได้โดยการถือออกห่างจากชิ้นงาน ทำให้ลมร้อนที่ปะทะชิ้นงานเบาบางลง แต่หากมีรุ่นที่ปรับได้หลายระดับก็จะใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

- สำหรับงานลอกสีโดยทั่วไปจะใช้ความเร็วพัดลมสูงสุดและลมร้อนสูงสุดของ เครื่องเป่าลมร้อน งานอื่นๆ เช่น งานบัดกรีข้อต่อท่อประปา หรืองานขันน็อตที่เป็นสนิมก็จะตั้งค่าเช่นเดียวกันนี้ แต่การใช้ความเร็วพัดลมต่ำๆ ก็มีประโยชน์ในการทำงานอื่นๆ เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

- การทำสีหรือเคลือบเงา ควรใช้ความร้อนที่ 30 °C ถึง 130 °C และต้องระมัดระวังลมแรง เพราะฝุ่นละอองต่างๆ ที่หน้างานอาจปลิวไปบนสีหรือสารเคลือบเงาได้บนชิ้นงานได้

- การทำให้ไม้ที่ชื้นแห้งดีก่อนนำไปอุดหรือทาสี ควรใช้ความร้อนประมาณ 100 °C ถึง 200 °C

- การทำให้กาวในงานยกพื้นหรือในยางกันบาดขอบโต๊ะอ่อนตัวเพื่อจะลอกออก ควรใช้ความร้อนประมาณ 300 °C ถึง 400 °C

- การดัดท่อพลาสติก ควรใช้ความร้อนที่ประมาณ 200 °C ถึง 300 °C

- การซีลพลาสติกหุ้ม ควรใช้ความร้อนที่ประมาณ 200 °C ถึง 300 °C

- การเชื่อมพลาสติกบางชนิด ควรใช้ความร้อนประมาณ 330 °C ถึง 400 °C

Visitors: 517,983